พื้นที่โฆษณา

ข่าวไอที - วิศวะลาดกระบัง เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร IoT และ IT ปั้นบุคลากรทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
pimdawan... 15 มี.ค. 68 74.9K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

วิศวะลาดกระบัง เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร IoT และ IT ปั้นบุคลากรทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอนาคต

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วโลก ช่วยให้การผลิตและการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดต้นทุน สามารถเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในหลายภาคส่วน เช่น ระบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory), เมืองอัจฉริยะ (Smart City), การแพทย์อัจฉริยะ (Smart Healthcare), ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของภาคอุตสาหกรรม โดยการนำ IoT, AI, Big Data, Digital และ Cloud Computing มาช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเตรียมความพร้อมสำหรับ Industry 5.0 ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด Human-Centric Technology โดยใช้ AI และ IoT เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพแรงงาน แทนที่จะเข้ามาแทนที่ทั้งหมด Industry 5.0 ยังเน้นเรื่อง Sustainability และ Green Technology เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ IoT ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ พร้อมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรและสร้างความร่วมมือเชิงลึกเพื่อปั้นบุคลากรที่มีทักษะสูงให้พร้อมสำหรับตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 และเตรียมพร้อมสำหรับ Industry 5.0 ด้วยแนวคิดที่ให้เทคโนโลยีอัจฉริยะมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (IoT and Information Systems Engineering) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต หลักสูตรนี้มีการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเน้นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมทั้งมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงานและทำวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

นอกจากหลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศแล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังมีหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และระบบวัดคุม, วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ, วิศวกรรมออโตเมชัน, วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งแต่ละหลักสูตรล้วนมีองค์ประกอบสำคัญคือ IoT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่สามารถพัฒนาโซลูชันและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต โดยที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในด้าน IoT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลายโครงการ อาทิ ความร่วมมือกับ สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนา มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และระบบเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับระบบศาลดิจิทัลที่ปลอดภัย โครงการความร่วมมือกับ กองพันปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ กรมสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในการพัฒนา AI วิเคราะห์ข้อมูลสัญญาณเคลื่อนวิทยุ เพื่อคาดการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ ความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอื่นๆ เช่น Oracle Thailand ที่สนับสนุนการอบรม Oracle Database 23AI, Intelligist Co., Ltd. ที่บริจาคเซิร์ฟเวอร์มูลค่ากว่า 2 ล้านบาทเพื่อสนับสนุน AI Security Lab, และ Symphony Communication ที่บริจาคอุปกรณ์เครือข่ายรวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการ Work-Integrated Learning (WiL) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ กสิกร บิสิเน็สเทคโนโลยีกรุ๊ป และ Swift Dynamics Co., Ltd. รวมถึงบริษัทอื่นๆ ที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกงานจริง ได้รับทุนการศึกษา และมีโอกาสเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรมหลังสำเร็จการศึกษา

ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยและการพัฒนาทักษะของนักศึกษาให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมจริง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้กลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT, AI, Cybersecurity และ Smart Technology ในประเทศไทย ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (IoT and Information Systems Engineering) และหลักสูตรอื่นๆ ของ สจล. เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและติดอยู่ในอันดับ Top 10 คณะที่มีอัตราการแข่งขันสูงในการคัดเลือก TCAS 2567

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรที่เชี่ยวชาญสู่ตลาดอุตสาหกรรม พร้อมกับการก้าวสู่ผู้นำด้านการศึกษาและวิจัยทางด้าน IoT และ IT ที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าสู่อนาคตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ...

ประธานหลักสูตร รศ.ดร.บุณย์ชนะ ภู่ระหงษ์ : boonchana.pu@kmitl.ac.th

https://www.facebook.com/KMITL.ITE

Email : iote@kmitl.ac.th

https://www.iote.kmitl.ac.th/

ประชาสัมพันธ์โดย : PIMDAWAN
วันที่ลงข่าว : 15-03-68

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย pimdawan ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา