พื้นที่โฆษณา

ข่าวเอเชีย - กว่างซีเสริมแกร่งแบรนด์สินค้าเกษตร บุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
Dataxet Infoque... 25 พ.ย. 67 81.6K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

กว่างซีเสริมแกร่งแบรนด์สินค้าเกษตร บุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ

กรมการเกษตรและกิจการชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

หนานหนิง, จีน, 25 พ.ย. 2567 /ซินหัว-เอเชียเน็ท/ดาต้าเซ็ต

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน งานส่งเสริมชาลิ่วเป่า (Liubao) ภายใต้แนวคิด "ชาลิ่วเป่าเจิดจรัสในแดนมังกร" ได้เปิดฉากขึ้นที่มหกรรมแสดงสินค้าเกษตรนานาชาติกว่างซี ประจำปี 2567 โดยมีผู้ประกอบการในวงการชาจากทั่วประเทศมารวมตัวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชา

ชาลิ่วเป่าเมืองอู๋โจวเป็นชาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล โดยได้ส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น เมืองอู๋โจวได้ทุ่มเทสร้างแบรนด์สาธารณะระดับภูมิภาคอย่าง "ชาลิ่วเป่าอู๋โจว" และแบรนด์วัฒนธรรม "เส้นทางเรือชาโบราณ" ส่งผลให้อิทธิพลของแบรนด์ชาลิ่วเป่าเพิ่มสูงขึ้น

ในงานฟอรัมว่าด้วยการสร้างแบรนด์ชาจีน ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดยสมาคมการตลาดชาจีนและองค์กรอื่น ๆ นั้น ชาลิ่วเป่าอู๋โจวอยู่อันดับ 13 ใน "20 อันดับแบรนด์สาธารณะระดับภูมิภาคที่มีมูลค่าสูงสุดในวงการชาจีนปี 2567" ด้วยมูลค่าแบรนด์สูงถึง 4.973 พันล้านหยวน โดยอุตสาหกรรมชาลิ่วเป่าสร้างงานให้กับประชาชนกว่า 83,000 คน มอบประโยชน์ให้ชาวบ้านราว 310,000 คน และมีมูลค่าผลผลิตรวมมากกว่า 2 หมื่นล้านหยวน

ข้อมูลจากกรมการเกษตรและกิจการชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงระบุว่า แบรนด์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของกว่างซีได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 100 แบรนด์ชั้นนำของจีนอยู่ 14 รายการ ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กว่างซีได้พัฒนาเขตผลิตสินค้าเกษตรเด่นระดับประเทศ 18 แห่ง และเขตผลิตสินค้าเกษตรเด่นระดับกว่างซีอีก 68 แห่ง โดยในปี 2566 นั้น กว่างซีมีผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว เกษตรอินทรีย์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์รวม 1,739 รายการ ครอบคลุมพื้นที่ 16.58 ล้านหมู่ ซึ่งผลิตภัณฑ์เกษตรสีเขียวและเกษตรอินทรีย์มีมูลค่าผลผลิตรวมมากกว่า 5 หมื่นล้านหยวน

ในกว่างซีนั้น การที่อุตสาหกรรมเกษตรอย่างชาลิ่วเป่าช่วยนำพาประชาชนสู่ความมั่งคั่งไม่ใช่เรื่องแปลก กว่างซีเป็นมณฑลเกษตรกรรมสำคัญของจีน โดยมีมูลค่าผลผลิตรวมจากการเกษตร ป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์ และประมง ครองอันดับต้น ๆ ของประเทศติดต่อกันหลายปี กว่างซีมีจุดแข็งที่โดดเด่นในด้านทรัพยากรเฉพาะถิ่น เช่น ป่าไม้ ผลไม้ ผัก ปศุสัตว์ และอ้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "อาณาจักรผลไม้" และ "ตะกร้าผัก" ของจีน ปัจจุบัน กว่างซีมีพื้นที่เพาะปลูกผลไม้มากกว่า 20 ล้านหมู่ ให้ผลผลิตกว่า 32 ล้านตัน ครองอันดับหนึ่งของจีนติดต่อกัน 6 ปี คิดเป็นประมาณ 1 ใน 8 ของผลผลิตทั้งประเทศ กว่างซีครองแชมป์การผลิตส้ม พลับ แก้วมังกร และเสาวรสมาหลายปี โดยในปี 2566 มีผลผลิตส้มมากกว่า 18 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 10 ของผลผลิตทั่วโลก แบรนด์สินค้าเกษตรอย่าง "มะม่วงกุ้ยฉี" "เสาวรสฉินมี่" และ "ส้มจี๊ดหรงอาน" ล้วนมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ

หวง จื้อหยู (Huang Zhiyu) อธิบดีกรมการเกษตรและกิจการชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เปิดเผยว่า กว่างซีได้ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านทรัพยากรเฉพาะถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ในอุตสาหกรรมป่าไม้ ผลไม้ ผัก ปศุสัตว์ และอ้อยอย่างเต็มที่ โดยเร่งสร้างระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่แบบ "10+3+N" และมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรคุณภาพสูงจนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง กว่างซีติด 10 อันดับแรกของประเทศมาหลายปีในด้านมูลค่าผลผลิตรวมจากการเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง ภูมิภาคนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมระดับแสนล้านหยวนถึง 6 กลุ่ม ได้แก่ ธัญพืช อ้อย ผัก ผลไม้ ประมง และปศุสัตว์คุณภาพสูง จนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศในฐานะ "จานผลไม้" "โถน้ำตาล" และ "ตะกร้าผัก" ของจีน

เว่ย ป๋อ (Wei Bo) รองอธิบดีกรมการเกษตรและกิจการชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เปิดเผยว่า กว่างซีมุ่งมั่นสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรคุณภาพสูง โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ การพัฒนาสายพันธุ์ การรับรองคุณภาพ และการสร้างมาตรฐาน จนถึงปัจจุบัน กว่างซีได้สร้างแบรนด์สินค้าเกษตรที่มีคำว่า "กุ้ย" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อแบรนด์แล้ว 7 ชุด รวม 641 แบรนด์ มีมูลค่าแบรนด์รวมสูงกว่า 5 แสนล้านหยวน

ที่มา : กรมการเกษตรและกิจการชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
โพสต์ : บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด
เผยแพร่ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย Dataxet Infoquest Admin ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา