พื้นที่โฆษณา

ข่าวการศึกษา - ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จัดเต็มคาราเบลโชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำโครงการวิจัยระดับนานาชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
pimdawan... 17 ส.ค. 66 230.7K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินหน้าจัดเต็มร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งสถาบันชั้นนำของโลกกว่า 9 สถาบัน สร้างผลงานวิจัยด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม ร่วมพัฒนาโครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติเกี่ยวกับผลกระทบปรากฏการณ์ “พลาสมาบับเบิล” ที่ส่งผลต่อระบบการสื่อสารและระบบการนำทาง

สจล.จับมือกับ NICT พัฒนาโครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติเพิ่มศักยภาพระบบการสื่อสารและการนำทางด้วยดาวเทียม มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาศึกษาสภาพอวกาศในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ และวิจัยพัฒนาการตรวจจับ “พลาสมาบับเบิล” โดยเริ่มต้นติดตั้งระบบเรดาร์ที่วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพรเพื่อการตรวจจับพลาสมาบับเบิล และเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2020 เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชุมพรอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการคาดการณ์ทางทฤษฎีว่าพลาสมาบับเบิลจะก่อตัวขึ้น และเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดเพื่อตรวจจับพลาสมาบับเบิลได้ทันที

รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “สถาบันฯ มีนโยบายเพื่อเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมระดับโลก โดยเฉพาะด้านอวกาศ ซึ่งมีการตั้งหน่วยงานต่างๆ ในสถาบัน เพื่อสนับสนุนกิจการอวกาศโลก โดยภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานนั้น ที่สร้างนักวิจัยชั้นแนวหน้าระดับโลกจำนวนมาก รวมถึงการสร้างเครือข่ายและงานวิจัยระดับโลก เพื่อมุ่งสู่ความเป็น The World Master of Innovation” ตามนโยบายของสถาบันฯ”

รองศาสตราจารย์ดร. สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “ความร่วมมือนี้มาจากทีมนักวิจัยระดับแนวหน้าของวิศวลาดกระบัง ซึ่งเป็นแกนหลักของเครือข่ายในการใช้ข้อมูลระหว่างประเทศอาเซียนและเอเชียมามากกว่า 6 ปี รวมถึงได้รับทุนวิจัยระดับแนวหน้าของประเทศและของนานาชาติร่วมกับทีมวิจัยจากเครือข่ายทั่วโลกโดยได้รับทุนและตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารชั้นนำระดับโลกทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมาอย่างยาวนานอีกด้วย”

ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “กว่า 2 ปีที่โครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบปรากฏการณ์พลาสมาบับเบิลต่อระบบการสื่อสาร ระบบการนำทางที่มาจากปรากฎการณ์ชั้นบรรยากาศที่ผิดปกติ ต้นเหตุปัญหาต่อระบบการสื่อสารและการนำทาง การให้ข้อมูล พัฒนาระบบตรวจจับ ระบบทำลายการเคลื่อนตัวของบับเบิล การคาดคะเนในอนาคต และการช่วยแก้ปัญหาล่วงหน้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแจ้งเตือนสภาพสถานการณ์และสถานภาพ เนื่องจากประเทศไทศเป็นหนึ่งในไม่กี่จุดที่เกิดปรากฎการณ์แบบนี้ เราจึงเริ่มทำการวิจัย ต่อยอดองค์ความรู้จนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาวิจัยจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ให้ทั่วโลกเห็นและยอมรับ อาทิ ความร่วมมือกับอุตสาหกรรมการบินเพื่อศึกษาผลกระทบการใช้งานจริงเมื่อเครื่องบินลงจอด หรือการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำของตำแหน่ง เช่น รถอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ ซึ่งหากมี Bubble จะทำให้คลาดเคลื่อน เกิดการขัดข้องเสียหายได้

จากความสำเร็จของโครงการนี้ ประเทศไทยจึงถือเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี นอกจากจะสร้างนวัตกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของบับเบิลแล้ว ยังมี Software สำหรับการวิเคราะห์ ซึ่ง Software วิเคราะห์นี้ ได้มีมากกว่า 10 ประเทศขอนำไปใช้ เนื่องจากเป็น Software ที่ใช้งานง่าย ปรับแต่งเพื่อการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มากกว่า Software ที่อื่นๆ ในโลกที่มีอยู่ ด้านผู้นำ ประเทศไทยยังคงเป็นหลักในด้านการพัฒนาวิจัยโครงการระดับนานาชาติเพื่อรับมือกับพลาสมาบับเบิล พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ด้านบุคคลากร เพื่อให้การพัฒนาการวิจัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่สานต่อความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยระดับโลก ปัจจุบันเราสร้างทีมร่วมกับ 9 สถาบันจาก 4 ประเทศ ระดับอาเซียน อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การบิน ยานยนตร์อัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น หน่วยงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลดผลเสียหายจากพลาสมาบับเบิล ด้านการท่องเที่ยวยุคใหม่ โดยต้องการให้สถานีเรด้าที่ สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นศูนย์การท่องเที่ยวยุคใหม่ในเชิงความรู้ ให้คนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีความเข้าใจ ภูมิใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่าเป็นเอกลักษณ์ซึ่งที่แห่งอื่นๆ ไม่มี

ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความเป็นผู้นำโดยได้มีส่วนร่วมกับโครงการระดับนานาชาติในหลายๆ ด้าน

  • ได้รับทุนจากหน่วยงาน ASEAN IVO โครงการวิจัยระดับนานาชาตินี้ทำให้สร้างเครือข่ายและพัฒนานักวิจัยในอาเซียนโดยทางสจล.เป็นหัวหน้าโครงการ มี 9 มหาวิทยาลัยเข้าร่วม ระยะเวลา 2 ปีนับเป็นทุนวิจัยที่มีการแข่งขันสูง ในแต่ละปีจะมีผู้ส่งเข้าแข่งขันประมาณ 50-60 โครงการ และมีเพียง 5 ทีมเท่านั้นที่จะได้รับเลือก และ สจล. ได้ทุนนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว
  • ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระดับโลก ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยของสถาบันฯสจล. ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 20 รายจากการเสนอชื่อผู้แทนจากทั่วโลกกว่า 200-300 คน เพื่อบรรยายเกี่ยวกับผลกระทบของชั้นบรรยากาศ (ไอโอโนสเฟียร์) ส่งผลการนำทาง การระบุตำแหน่ง GPS อย่างไร สจล.จึงถือแป็นตัวแทนประเทศไทยได้เข้าประชุมกับสหประชาชาติองค์กรระดับโลก
  • ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ ได้รับการแต่งตั้งจาก หน่วยงาน IAGA (International of Applied Geomagnetism and Aeronomy) ให้เป็น Executive Committee ระดับนานาชาติ ซึ่งหน่วยงาน IAGA ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1873 และเป็น 1 ใน 8 หน่วยงานหลักภายใต้องค์กร IUGG (International Union of Geodesy and Geophysics)
  • วิศวลาดกระบัง เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICT Virtual Organization of ASEAN Institutes and NICT(ASEAN IVO) ภายใต้การสนับสนุนของ National Institute of Information and Communications Technology (NICT) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 โดยมีรศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ และศ.ดร. พรชัย ทรัพย์นิธิ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สจล. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีกิจกรรมปฐมนิเทศสมาชิกของโครงการจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, National University of Laos ประเทศสปป.ลาว, Cambodia Academy of Digital Technology ประเทศกัมพูชา, Institute of Technology of Cambodia ประเทศกัมพูชา, Institute of Geophysics ประเทศเวียดนาม, Le Quy Don Technical University ประเทศเวียดนาม, National Institute of Information and Communications Technology ประเทศญี่ปุ่น, ASEAN-IVO Office, NICT ประเทศญี่ปุ่น, NICT Asia center ประเทศไทย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ยังคงเดินหน้ามุ่งมั่นพัฒนา สร้างงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วีถีความเป็นอยู่ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมระดับชาติ ระดับนานาชาติและในระดับโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

อีเมล์ telecom@kmitl.ac.th

ประชาสัมพันธ์ : PIMDAWAN

ลงวันที่ 17-08-66

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย pimdawan ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา