พื้นที่โฆษณา

ข่าวเศรษฐกิจ, การเงิน - กองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศปิดฉากการประชุม ให้คำมั่นสัญญาเดินหน้าพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
iqmedia... 24 มิ.ย. 66 18.1K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

การประชุมกองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development Forum) ครั้งที่ 2 ณ กรุงเวียนนา สิ้นสุดลงด้วยผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน และความมุ่งมั่นในการจัดหาเงินทุนจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่มารวมตัวกันส่งเสริมการตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลก เช่น ความสามารถในการจัดหาเงินทุน ความมั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ดร. อัลคาลิฟา (Dr. Alkhalifa) ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนโอเปก กล่าวว่า "ในปีที่สองของการประชุมกองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกครั้งที่การประชุมได้มอบพื้นที่สำหรับความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นและการดำเนินการอย่างแน่วแน่จากพันธมิตรของเรา เราได้แสดงให้เห็นว่าเรามีความทะเยอทะยาน และเราได้ส่งมอบสิ่งนั่น เรายังคงมุ่งมั่นอย่างมั่นคงที่จะจัดการกับปัญหาเร่งด่วนระดับโลก และขยายทรัพยากรของเราเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน"

การลงนามและการประกาศระหว่างการประชุมกองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ มีดังต่อไปนี้

กองทุนโอเปกได้ลงนามในสัญญากู้ยืมเงินมูลค่า 20 ดอลลาร์กับธนาคารแอคเซส แบงก์ บอตสวานา (Access Bank Botswana) เพื่อขยายการสนับสนุนทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลางในบอตสวานา โดยเงินทุนอย่างน้อย 30% จะถูกมอบให้ธุรกิจขนาดเล็กที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของโดยตรง และอีก 70% จะมอบให้โครงการกู้ยืมแก่บริษัทในท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
กองทุนโอเปกลงนามในข้อตกลงร่วมกับองค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency) หรือ IRENA เพื่อเข้าร่วมแพลตฟอร์มการจัดหาเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านของพลังงาน (Energy Transition Accelerator Financing) หรือ ETAF ซึ่งเป็นแนวทางริเริ่มระดับโลกที่มุ่งแสวงหาการระดมเงินทุนเพื่อการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน โดยกองทุนโอเปกวางแผนที่จะให้การสนับสนุนแพลตฟอร์มนี้ด้วยเงินกู้ยืมจากภาครัฐและไม่ใช่จากภาครัฐ สูงถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2573 เพื่อสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในบรรดาประเทศพันธมิตร
กองทุนโอเปกและโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations World Food Program) ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อกระชับความร่วมมือในการยกระดับความมั่นคงทางอาหารโลก และสร้างระบบอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขนาดการจัดการกับความเสี่ยงด้านสภาพอากาศในระบบอาหาร เพื่อส่งเสริมโซลูชันการแก้ปัญหาด้านสภาพอากาศและการเกษตรที่อัจฉริยะและเป็นนวัตกรรม และเร่งความคืบหน้าในการไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 2 ซึ่งก็คือ ยุติความหิวโหย (Zero Hunger)
กองทุนโอเปกและธนาคารพัฒนาเอเชียลงนามในข้อตกลงร่วมด้านการเงิน เพื่อสนับสนุนรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ของไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยความช่วยเหลือทางเทคนิคมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐของกองทุนโอเปก จะสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของไทย โดยช่วยสำรวจโอกาสในการลงทุนและส่งเสริมการเติบโตในภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ
กองทุนโอเปกได้เผยแพร่รายงานประสิทธิผลการพัฒนา (Development Effectiveness Report) ฉบับแรก ซึ่งเป็นการทบทวนผลกระทบจากโครงการขององค์กรและผลลัพธ์ของข้อตกลง และรายงานประจำปี (Annual Report) ที่นำเสนอผลงานในปี 2565 ด้วยข้อตกลงใหม่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม 48 โครงการ
การประชุมนี้มีขึ้นเพื่อหาแนวทางรับมือกับความท้าทายด้านการพัฒนาทั่วโลก ภายใต้หัวข้อ "ขับเคลื่อนความยืดหยุ่นและความเสมอภาค" (Driving Resilience & Equity) เป็นการรวมตัวกันของบรรดาผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศสมาชิกกองทุนโอเปก และประเทศพันธมิตร หัวหน้าสถาบันต่าง ๆ ของกลุ่มประสานงานอาหรับ (Arab Coordination Group) หรือ ACG เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคีและองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงผู้แทนภาคเอกชน ภายในการประชุมได้มีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ เช่น ไปสู่รูปแบบการพัฒนาแห่งการเปลี่ยนผ่าน (Towards a Transformative Development Model) การทำงานร่วมกันระดับภูมิภาคในฐานะแรงกระตุ้นสำหรับโซลูชันที่ปรับขนาดได้ (Regional Collaboration as a Catalyst for Scalable Solutions) และการดำเนินนโยบายและการเป็นพันธมิตรซึ่งให้ความสำคัญต่อผู้คนและโลก (Implementing Policies and Partnerships that Prioritize People and Planet) นอกจากนี้ยังมีช่วงที่สำคัญในการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหาร การให้ความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในภาคส่วนสำคัญ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมและการความร่วมมือกัน

เกี่ยวกับกองทุนโอเปก

กองทุนโอเปกเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (OPEC Fund for International Development หรือ OPEC Fund) เป็นสถาบันเพื่อการพัฒนาระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่จัดหาเงินทุนจากประเทศสมาชิกให้กับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกโดยเฉพาะ องค์กรทำงานร่วมกับพันธมิตรประเทศกำลังพัฒนาและชุมชนการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางทั่วโลก กองทุนโอเปกก่อตั้งขึ้นในปี 2519 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนา เสริมสร้างชุมชน และส่งเสริมผู้คน งานของเราเน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนสนับสนุนโครงการที่ตอบสนองความต้องการที่จำเป็น เช่น อาหาร พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน การจ้างงาน (โดยเฉพาะในวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล การดูแลสุขภาพ และการศึกษา จนถึงปัจจุบัน กองทุนโอเปกได้มอบเงินทุนมากกว่า 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับโครงการพัฒนาในกว่า 125 ประเทศ โดยมีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.90 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ฟิทช์ (Fitch) ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกไว้ที่ AA+/Outlook Stable ขณะที่เอสแอนด์พี (S&P) ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนโอเปกไว้ที่ AA/Outlook Positive ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างโลกที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนกลายเป็นความจริงสำหรับทุกคน

ติดต่อ
บาซัก ปาเมียร์ (Basak Pamir)
โทร: +43151564174
อีเมล: B.Pamir@opecfund.org

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107698/OPEC_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107699/OPEC_2.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107700/OPEC_3.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107703/OPEC_4.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107704/OPEC_5.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2107705/OPEC_6.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1899865/OPEC_Fund_Logo.jpg

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา