พื้นที่โฆษณา

ข่าวไลฟ์สไตล์ - ออมรอน เฮสธแคร์ เตรียมนำเสนอความพยายามใหม่ ๆ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "Going for Zero" ขจัดปัญหาหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
iqmedia... 16 ม.ค. 66 19.8K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

- เตรียมเปิดตัวบริการติดตามผู้ป่วยทางไกลแบบใหม่อย่าง "Viso" ในสหราชอาณาจักร ช่วงต้นปี 2566 -

บริษัท ออมรอน เฮสธแคร์ จำกัด (OMRON Healthcare Co., Ltd.) ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "บริษัท" ขอเปิดตัวบริการติดตามผู้ป่วยทางไกลแบบใหม่ในสหราชอาณาจักร เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "Going for Zero" (มุ่งบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์) เพื่อขจัดปัญหาหลอดเลือดสมองและหัวใจวายเฉียบพลัน ที่งานจัดแสดงเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างงานซีอีเอส ประจำปี 2566 (CES 2023) บริษัทมีเป้าหมายอยู่ที่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AFib) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการเต้นผิดปกติของหัวใจที่พบได้มากขึ้น พร้อมนำเสนอความพยายามต่าง ๆ เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วตั้งแต่เนิ่น ๆ ในงานซีอีเอส ประจำปี 2566 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 5-8 มกราคม ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา

โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/img/202212271734-O2-jtQRl17o

รายละเอียดการออกบูธจัดแสดง:

ธีมที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566

1. ตรวจจับอาการของโรคหัวใจแต่เนิ่น ๆ โดยใช้การวัดความดันเลือด + เทคโนโลยีตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ออมรอน เฮสธแคร์ เล็งเป้าหมายไว้ที่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจประเภทหนึ่งที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดเหตุหัวใจ โรคนี้แสดงอาการน้อยมาก โดยเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่ก็ไม่สังเกตเห็นเลย จึงยากต่อการตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ดี การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และการรักษาที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ย ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีผู้ใหญ่ 116 ล้านคนที่มีความดันโลหิตสูง และ 37 ล้านคนในจำนวนนี้มีความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ (*1) การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความแพร่หลายของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษหน้า (*2) ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประมาณการว่า 12.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาจะมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วในปี 2573 (*3) บริษัทจึงได้เปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขนพร้อม ECG ในตัวไปทั่วโลก อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้และบุคลากรทางการแพทย์ ใช้ข้อมูลที่ตรวจเองที่บ้านไปประกอบการรักษาและตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

หมายเหตุ:

(*1) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/bloodpressure/facts.htm

(*2) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm

(*3) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm

2. ขยายการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล

บริษัทยังได้เปิดตัวฟีเจอร์ล่าสุดอย่าง "โค้ชสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล" (Personal Heart Health Coach) และ "ทีมดูแล" (Care Team) ในแอปออมรอน คอนเน็กต์ (OMRON connect) (สหรัฐ/แคนาดา/ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) ซึ่งเปิดตัวแล้วในตลาดสหรัฐ แคนาดา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา สำหรับฟีเจอร์ "โค้ชสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล" นั้น ตัวแอปจะวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญที่บันทึกด้วยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับออมรอน โดยใช้เทคโนโลยี AI และให้ข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำแก่ผู้ใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พร้อมกับสูตรอาหาร คำแนะนำด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย รวมถึงน้ำหนักเป้าหมายและความดันโลหิตตามข้อมูลเชิงลึกเฉพาะของผู้ใช้ ส่วนฟีเจอร์ "ทีมดูแล" จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างทีมดูแลของตนเอง ซึ่งอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในทีมสามารถตรวจสอบข้อมูลสำคัญในแอปได้เช่นกัน

3. นวัตกรรมบริการติดตามผู้ป่วยทางไกล (Remote Patient Monitoring หรือ RPM) ทั่วโลก

- Viso แพลตฟอร์ม RPM ใหม่ รองรับได้หลายโรคในสหราชอาณาจักร

บริการดังกล่าวซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในต้นปี 2566 จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบ่งปันข้อมูลสุขภาพที่สำคัญจากบ้านกับแพทย์ได้ บริการนี้ช่วยให้แพทย์ตรวจสอบสถานะทางกายภาพและความสม่ำเสมอในการใช้ยาของผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยในสหราชอาณาจักรนั้น ผู้ป่วยมีตัวเลือกในการลงทะเบียนกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (GP) ซึ่งจะดูแลผู้ป่วยและอาการต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การนัดตรวจครั้งแรกไปจนถึงการรักษาระยะยาว ดังนั้น การจัดสรรเวลาและปริมาณงานให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

Viso เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยแบ่งปันข้อมูลสำคัญได้หลายอย่าง รวมถึงความดันโลหิตและน้ำหนักตัว กับแพทย์ของพวกเขา ในขณะที่แพทย์ตรวจสอบข้อมูลของผู้ป่วยจากระยะไกลในช่วงเวลาระหว่างการตรวจแต่ละครั้งที่สถานบริการ ข้อมูลความดันโลหิตที่ Viso รวบรวมไว้ จะนำไปวิเคราะห์โดยโปรแกรมยาที่พัฒนาโดยทีมงานของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และแอปจะแนะนำแผนการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายเป็นเวลา 3 เดือนให้กับแพทย์ของผู้ป่วย Viso ยังเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยป้อนข้อมูลความสม่ำเสมอในการใช้ยาและสภาพร่างกายได้ ด้วยการตอบแบบสอบถามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล ดังนั้น ยิ่งใช้แอปมากเท่าใด แอปก็จะยิ่งรู้จักผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น และช่วยให้พวกเขาเข้าใจอาการได้ แอปจะส่งการแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่านแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีค่าที่บ่งชี้ว่าจำเป็นต้องดำเนินการ ซึ่งเน้นความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดและมีความเสี่ยงสูง Viso ยังรวมเข้ากับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ของแพทย์ได้โดยตรง เพื่อให้บันทึกของผู้ป่วยได้รับการจัดการอย่างปลอดภัยจากส่วนกลางและทั่วถึง บริษัทมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสหราชอาณาจักร และสร้างความคืบหน้าในการตรวจหาและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตั้งแต่เนิ่น ๆ

- VitalSight (TM) บริการ RPM สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสหรัฐอเมริกา

ที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566 ยังได้มีการนำเสนอคำรับรองของแพทย์ผู้เคยใช้โปรแกรม VitalSight มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 โดยมีไซต์ที่ครอบคลุมซึ่งนำเสนอประสิทธิภาพการรักษาและเศรษฐศาสตร์สุขภาพของบริการ RPM พร้อมกับข้อมูลการศึกษาล่าสุด

ภาพรวมงาน

วันที่: วันพฤหัสบดีที่ 5 ม.ค. 2566 - วันอาทิตย์ที่ 8 ม.ค. 2566

สถานที่: ศูนย์การประชุมลาสเวกัส (LVCC)

รูปแบบการจัดแสดง: บูธ

หมายเลขบูธ: 8604

เว็บไซต์ชี้แจงรายละเอียด: ออมรอน เฮสธแคร์ ที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566

https://healthcare.omron.com/ces2023

ภาพแลนดิ้งเพจของเว็บไซต์ชี้แจงรายละเอียด:

https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M000242/202212271734/_prw_PI3fl_0S5hDt6S.jpg

https://healthcare.omron.com/ (ทั่วโลก)

ที่มา: บริษัท ออมรอน เฮสธแคร์ จำกัด

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา