พื้นที่โฆษณา

ข่าวสุขภาพ - เชิญชวนเยาวชนนักประดิษฐ์ตั้งเป้าให้สูงเพื่อผู้สูญเสียการได้ยิน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
iqmedia... 18 พ.ย. 65 32.7K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

เปิดตัวการประกวดสำหรับเด็กทั่วโลกเนื่องในวันนักประดิษฐ์โลก เพื่อยกระดับการตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียการได้ยินและข้อดีของการรักษา

เมดเอล (MED-EL) ผู้ให้บริการชั้นนำและผู้ประดิษฐ์ระบบประสาทหูเทียม ประกาศเปิดตัวการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์แห่งอนาคตทั่วโลกประจำปีผ่านการประกวดideas4earsสำหรับเด็ก ๆ ทั่วโลก

การประกวดนี้เชิญชวนเด็ก ๆ อายุ 6-12 ปีจากทั่วโลก มาร่วมสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียการได้ยิน ผู้เข้าแข่งขันจะส่งผลงานเป็นวิดีโอ ภาพวาด หรือประติมากรรมก็ได้ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการให้เยาวชนตั้งเป้าให้สูงและเผยแพร่แนวคิดของตนเพื่อสนับสนุนผู้สูญเสียการได้ยิน

แรงบันดาลใจเบื้องหลังการประกวด ideas4ears และหัวหน้าผู้ตัดสินการประกวดคือคุณเจฟฟรีย์ บอล (Geoffrey Ball) คุณเจฟฟรีย์มีเรื่องราวชีวิตที่ไม่ธรรมดา เมื่อเขากลายเป็นคนหูหนวกตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จากนั้นเขาได้ประดิษฐ์ประสาทหูชั้นกลางเทียมที่ปฏิวัติวงการ เพื่อรักษาการสูญเสียการได้ยินของเขาเอง

"การประดิษฐ์มักเป็นกระบวนการคัดออก ในกรณีของประสาทหูเทียมภายในหูชั้นกลาง (VIBRANT SOUNDBRIDGE) นั้น ผมต้องสร้างและทดสอบอุปกรณ์จำนวนมากที่ใช้งานได้ไม่ดีพอหรือใช้การไม่ได้เลย จนกระทั่งได้การออกแบบที่สมบูรณ์แบบในที่สุด ตอนที่ผมประดิษฐ์ส่วนประกอบสำหรับประสาทหูชั้นกลางเทียมที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้คนมักจะบอกเหตุผลนับร้อยว่าทำไมสิ่งประดิษฐ์ของผมจะใช้ไม่ได้ผล แต่ผมต้องการเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้นว่าทำไมมันถึงจะได้ผล"คุณเจฟฟรีย์ บอล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของเมดเอล และผู้ประดิษฐ์ประสาทหูเทียมภายในหูชั้นกลาง VIBRANT SOUNDBRIDGEกล่าว

ในฐานะนักประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จ โดยมีการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 100 รายการภายใต้ชื่อของเขา และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์มากมาย คุณเจฟฟรีย์ใช้ประสบการณ์ชีวิตของเขาเพื่อเป็นกำลังใจแก่นักประดิษฐ์ ideas4ears รุ่นเยาว์ ซึ่งหลายคนเป็นผู้ใช้ประสาทหูเทียมด้วยตัวเอง

"ถึงเด็ก ๆ ทุกคนที่สูญเสียการได้ยินและต้องการหาทางออกที่ดีกว่าสำหรับตัวเอง ผมขอบอกเลยว่าอย่ายอมแพ้ในการประดิษฐ์ เชื่อมั่นในตัวเอง พยายามต่อไป ไปให้ถึงฝัน และอย่างที่วินสตัน เชอร์ชิล พูดไว้ว่าอย่ายอมแพ้ ไม่ว่ายังไงก็ตาม อย่ายอม"คุณเจฟฟรีย์ กล่าว

การประกวด ideas4ears เป็นการเฉลิมฉลองความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ และมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับความลำบากที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยิน ตลอดจนประโยชน์ของการรักษา ผู้ปกครองที่สนใจสามารถไปที่เว็บไซต์www.ideas4ears.org/enterเพื่อส่งผลงานของบุตรหลานได้ กำหนดการปิดรับสมัครคือเที่ยงคืนของวันที่ 17 มกราคม 2566

รับรางวัลสุดพิเศษ!มีโอกาสลุ้นรางวัลเดินทางไปอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย และรางวัลสุดพิเศษมากมาย

เราเปิดรับความคิดทั้งหมด หลักเกณฑ์เดียวคือสิ่งประดิษฐ์ต้องมีศักยภาพในการช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้สูญเสียการได้ยินในทุกช่วงอายุ ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก ideas4ears

เกี่ยวกับเมดเอล

เมดเอล เมดดิคัล อิเล็คโทรนิกส์ (MED-EL Medical Electronics) คือผู้นำด้านการผลิตประสาทหูเทียม โดยมีพันธกิจในการเอาชนะการสูญเสียการได้ยินซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและคุณภาพของชีวิต บริษัทเอกชนจากออสเตรียแห่งนี้ร่วมก่อตั้งโดยผู้บุกเบิกของวงการ ได้แก่ อิงเงอบอร์ก โฮคไมเออร์ (Ingeborg Hochmair) และแอร์วิน โฮคไมเออร์ (Erwin Hochmair) ผู้บุกเบิกการวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสัญญาณเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งผ่าตัดฝังในร่างกายสำเร็จเมื่อปี 2520 และเป็นต้นแบบของประสาทหูเทียมสมัยใหม่ในปัจจุบัน ความสำเร็จดังกล่าวเป็นรากฐานการเติบโตของบริษัท โดยมีการจ้างพนักงานกลุ่มแรกในปี 2533 และปัจจุบันมีพนักงานกว่า 2,400 คน จากประมาณ 80 ประเทศ ในสำนักงาน 30 สาขาทั่วโลก

เมดเอลมีผลิตภัณฑ์ช่วยฟังทั้งแบบฝังในร่างกายและแบบใช้ภายนอกสำหรับผู้สูญเสียการได้ยินทุกระดับ ผู้คนใน 134 ประเทศสามารถได้ยินเสียงโดยใช้อุปกรณ์ของเมดเอล ซึ่งประกอบด้วยระบบประสาทหูชั้นในเทียมและระบบประสาทหูชั้นกลางเทียม ระบบประสาทหูเทียมที่ใช้การกระตุ้นด้วยเสียงแบบไฟฟ้า ระบบประสาทหูเทียมชนิดฝังที่ก้านสมอง และอุปกรณ์นำเสียงผ่านกระดูกทั้งแบบผ่าตัดฝังและไม่ต้องผ่าตัดwww.medel.com

www.medel.com/press-room

รูปภาพ-https://mma.prnewswire.com/media/1946442/Aim_high_for_science.jpg
โลโก้ -https://mma.prnewswire.com/media/1860202/MED_EL_Logo.jpg

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา