พื้นที่โฆษณา

ข่าวการศึกษา - Global Times: จีน-อินโดนีเซีย ผลักดันโครงการแปลหนังสือ มุ่งส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
iqmedia... 16 พ.ย. 65 13.3K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันที่หน้าจอแอลอีดีขนาดใหญ่ที่บูธของประเทศจีนในมหกรรมหนังสือนานาชาติอินโดนีเซีย (Indonesia International Book Fair หรือ IIBF) ในกรุงจาการ์ตา เพื่อชมวิดีโอโปรโมทวัฒนธรรมเหลียงจู่ (Liangzhu Culture) หนึ่งในแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของจีน และต่างตื่นตาตื่นใจที่ได้รู้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอารยธรรมอันยาวนานของจีนที่ย้อนกลับไปกว่า 5,000 ปี

นี่เป็นเพียงหนึ่งในความรู้ใหม่จากหลาย ๆ เรื่องที่พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเหลียงจู่ในวันนั้น ต้องขอบคุณความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์ของจีนกับอินโดนีเซีย

สำนักพิมพ์สังคมศาสตร์จีน (Social Sciences Academic Press) และสำนักพิมพ์ยายาซาน ปุสตากา โอบอร์ อินโดนีเซีย (Yayasan Pustaka Obor Indonesia) ได้ร่วมกันเปิดตัวหนังสือ 4 เล่มในประเทศอินโดนีเซีย

"โครงการแปลหนังสือจีนและอินโดนีเซียเป็นส่วนสำคัญของความคิดริเริ่มของจีนในการแปลวรรณกรรมคลาสสิกของเอเชียจากภาษาจีนเป็นภาษาอื่นและจากภาษาอื่นเป็นภาษาจีน ซึ่งนำเสนอโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ในการประชุมว่าด้วยอารยธรรมเอเชีย (Conference on Dialogue of Asian Civilizations) เมื่อปี 2562" คุณสวี่ ลี่ผิง (Xu Liping) ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences) กล่าว

ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562นายสี จิ้นผิง กล่าวว่า จีนยินดีที่ได้ริเริ่มโครงการร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้องในการแปลวรรณกรรมคลาสสิกของเอเชีย รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์

สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้คนในเอเชียเข้าใจและชื่นชมวัฒนธรรมของกันและกันได้ดีขึ้น รวมทั้งสร้างเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้ร่วมชื่นชมอารยธรรมเอเชีย

ความร่วมมือระหว่างจีนกับอินโดนีเซียทำให้หนังสือที่บรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาและความสำเร็จทางวัฒนธรรมของจีนเข้าสู่อินโดนีเซียมากขึ้น

"หนังสือเป็นสะพานเชื่อมโยงวัฒนธรรมของมนุษย์"คุณเปาลัส รูดอล์ฟ ยูนิอาร์โต (Paulus Rudolf Yuniarto) นักวิจัยจากศูนย์วิจัยอาณาบริเวณศึกษา สำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติของอินโดนีเซีย (Indonesia National Research and Innovation) กล่าว "แนวคิดในการแปลวรรณกรรมคลาสสิกของจีนและอินโดนีเซียเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม"

คุณโนวี บาซูกิ (Novi Basuki) ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาชาวอินโดนีเซีย กล่าวว่า ในมุมมองของความร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจ จีนและอินโดนีเซีย "ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคี" แต่ในระดับของการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน "อคติและความไม่เข้าใจยังคงมีอยู่ด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงการขาดการสื่อสารทางวัฒนธรรม"

เพื่อลดอคติระหว่างสังคมของสองประเทศ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เช่น โครงการแปลหนังสือ ดูเหมือนจะ "มีความสำคัญกว่าแง่มุมอื่น ๆ อย่างมาก เนื่องจากทำหน้าที่เป็นรากฐานของความร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มั่นคง" คุณบาซูกิกล่าวเสริม

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา