พื้นที่โฆษณา

ข่าวสุขภาพ - ไมนด์เรย์ เปิดโครงการวิจัยในศูนย์การแพทย์หลายแห่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
iqmedia... 16 พ.ย. 65 30.6K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

บริษัท ไมนด์เรย์ เมดิคอล (Mindray Medical) ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในการจัด "การประชุมวิชาการไมนด์เรย์ อัลตราซาวด์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ประจำปี 2565 (2022 SEA & SA Mindray Ultrasound Forum)" ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 150 คนจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญทางคลินิกและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในอุตสาหกรรม ภายใต้หัวข้อ "สร้างสะพาน เพื่อเชื่อมโยงวิสัยทัศน์" (Building Bridges, Connecting Visions)

สำหรับพิธีเปิดการประชุม ไมนด์เรย์ได้เปิดตัวโครงการวิจัยในศูนย์การแพทย์หลายแห่งอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการวิจัยในหัวข้อ "การอัลตราซาวด์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน" นำโดยสถาบันวิจัยหลักสองแห่ง ได้แก่ สมาคมนรีเวชทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศอินโดนีเซีย (HUGI) และโรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น (The Third Affiliated Hospital of Sun Yat-sen University) จากประเทศจีน โดยแขกผู้มีเกียรติมากมายได้ร่วมเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้ ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาล 7 แห่งในอินโดนีเซียที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ RS YPK Mandiri Hospital, RSUPN Dr. Cipto Mangunkusumo Hospital, RSUP Dr. Sardjito Hospital, RSUP Hasan Sadikin Hospital, RSUP Prof. Ngoerah Denpasar Hospital, RSUD Dr. Soetomo Hospital และ RSUP Dr. Kariadi Hospital

ศ.ดร.นพ.บูดี อิมาน ซานโตโซ (Budi Iman Santoso) ประธานสมาคมนรีเวชทางเดินปัสสาวะแห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า "จากการศึกษาความชุกของโรคอุ้งเชิงกรานในโรงพยาบาลศูนย์ตติยภูมิในอินโดนีเซียแสดงให้เห็นว่า ความชุกของผู้ป่วยโรคอุ้งเชิงกรานอยู่ที่ 33% ของการอุบัติโรคทั้งหมด โดยแบ่งเป็นความชุกของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ อยู่ที่ 26.4%, 15.3% และ 2.5% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับโรคอุ้งเชิงกรานในผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีข้อจำกัด และมีความแตกต่างในการรักษาโรคอุ้งเชิงกรานตามหลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสถานการณ์ที่ซับซ้อนและหลากหลายในแต่ละพื้นที่ของภูมิภาค ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาในโลกตะวันตกมาใช้งาน ด้วยเหตุนี้ เราจำเป็นต้องสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงสำหรับใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ศ.จาง ซินหลิง (ZHANG Xinling) กล่าวถึงรายละเอียดของโครงการวิจัยในศูนย์หลายแห่งว่า "โครงการนี้เกี่ยวกับการอัลตราซาวด์ในหลากหลายแง่มุม ประการที่หนึ่งคือ การสำรวจความเป็นไปได้ของการอัลตราซาวด์ก่อนคลอด เพื่อคาดการณ์วิธีการคลอด ประการสองคือ การตรวจสอบระยะของการคลอดด้วยการอัลตราซาวด์ก่อนคลอด ประการที่สามคือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด กับภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน โครงการนี้จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการคาดการณ์วิธีการคลอดและช่วยติดตามระยะของการคลอด ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถตรวจสอบความผิดปกติเชิงโครงสร้าง ก่อนเกิดอาการหลังคลอด โดยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการจัดการภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้หญิงจำนวนมาก"

หลังการเปิดตัวโครงการวิจัยในศูนย์หลายแห่ง วิทยากร 8 ท่านจากอินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และจีน ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ทางคลินิกที่มีประโยชน์ในวงการแพทย์ด้านสูตินรีเวชวิทยาและรังสีวิทยา เพื่อเน้นย้ำถึงเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมของไมนด์เรย์ที่มีความล้ำสมัย เช่น Smart Pelvic, Smart Planes CNS, V Flow, Sound Touch Elastography, uHIT พร้อมการสาธิตการใช้งานจริง

ในการประชุมย่อยเฉพาะทางด้านสูตินรีเวชวิทยาได้มีการเสวนาในหลากหลายหัวข้อ เริ่มจากดร.เฟอร์นานดิ โมเอกนี (Fernandi Moegni) ได้นำเสนอในหัวข้อ "การตรวจพบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยระบบอัลตราซาวด์เชิงกรานอัจฉริยะ Smart Pelvic ในการตั้งครรภ์ช่วงท้ายและหลังคลอดบุตร" ต่อด้วยการนำเสนอของดร.นพ.เอเฟนดิ ลูคัส (Efendi Lukas) ในหัวข้อ "การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง" จากนั้นดร.แอนดี ดาร์มา ปูตรา (Andi Darma Putra) ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "การอัลตราซาวด์และกระบวนการเก็บข้อมูลเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก" ก่อนที่ดร.เบอร์ลีย์ บี. บาลิตา (Berly B. Balita) ปิดการประชุมด้วยการเสวนาในหัวข้อ "พื้นฐานการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจทารกในครรภ์"

ในการประชุมย่อยด้านรังสีวิทยา ดร.ไอ มาเด ดวีจาปูตรา อายุสตา (I Made Dwijaputra Ayusta) ได้บรรยายเกี่ยวกับ "ระบบอัลตราซาวด์หลอดเลือด V flow" ต่อด้วยการบรรยายของนพ. ชินรัตน์ บัวงาม ในหัวข้อ "ประเด็นเชิงปฏิบัติในการตรวจอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์" จากนั้นดร.เซี่ย เสี่ยวเหยียน (Xie Xiaoyan) ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาและการตรวจอัลตราซาวด์ในจีน และพญ.ดวงกมล ประพฤติธรรม ได้แบ่งปันประสบการณ์ด้าน "การตรวจตับด้วยอัลตราซาวด์อีลาสโตกราฟี"

"เราจะทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการระหว่างประเทศให้มากขึ้น" คุณโหมว ฟางอี้ (Mou Fangyi) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ไมนด์เรย์ เมดิคอล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ กล่าว ทั้งนี้ ไมนด์เรย์ เมดิคอล จะเดินหน้าทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อสร้างเวทีแห่งความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการระหว่างประเทศ ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูง ให้แพร่หลาย และก้าวขึ้นเป็นกำลังหลักในการปกป้องสุขภาพของมวลมนุษยชาติ

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1944681/1.jpg
คำบรรยายภาพ - ศ.ดร.นพ.บูดี อิมาน ซานโตโซ คุณดอร่า ตง และแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1944682/2.jpg

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา