ข่าวธุรกิจ, สังคม - "การแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกประจำปี 2566" ชวนผู้ร่วมส่งผลงานประกวดในหัวข้อ "การประกวดหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการใช้ชีวิต" เพื่อให้ผู้พิการ "เดินได้อย่างอิสระ"
ข่าวประชาสัมพันธ์
Press Release
ฟังข่าวนี้
คณะกรรมการบริหารการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลก (Global Innovation Challenge Executive Committee) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "คณะกรรมการบริหารจีไอซี") ซึ่งตั้งอยู่ในโตเกียว มีความยินดีที่จะประกาศว่า "การแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกประจำปี 2566 การประกวดหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการใช้ชีวิต" (Global Innovation Challenge 2023 Living Assistance Robot Contest) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "การแข่งขันจีไอซี") จะจัดขึ้นในปีหน้า ที่ "ศูนย์นวัตกรรมจีไอซี สึคุบะ" (GIC Tsukuba Innovation Center) ในเมืองสึคุบะ จังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเงินรางวัลรวม 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M106211/202211019056/_prw_PI2fl_rDD8D0fK.jpg
รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M106211/202211019056/_prw_PI1fl_EGqhrMv2.png
เว็บไซต์ทางการ: https://global-innovation-challenge.com/en/
การแข่งขันจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2566 เพื่อสนับสนุนนักวิจัยและนักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลก การแข่งขันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมมาช่วยให้ผู้พิการที่ต้องนั่งวีลแชร์ เช่น ผู้เป็นอัมพาต สามารถ "เดินได้อย่างอิสระ" (*) โดยไม่ต้องรับความช่วยเหลือจากผู้ดูแล และใช้ประโยชน์จากอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่ยังใช้งานได้อย่างเต็มที่
(*) สำหรับวัตถุประสงค์ของการแข่งขันนี้ การเดินอย่างอิสระหมายถึงความสามารถของบุคคลที่มีความทุพพลภาพ เช่น อัมพาต ในการเดินโดยไม่ต้องรับความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือไม่ต้องใช้วีลแชร์
งานนี้จะเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ก่อนการแข่งขัน โดยทางผู้จัดงานหวังว่าจะได้รับใบสมัครมากมายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการสมัครได้ที่เว็บไซต์ทางการ
https://global-innovation-challenge.com/en/event_and_project/2023/GIC2023.html
ที่มาของการแข่งขัน:
จำนวนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวันเนื่องจากความชรา ความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในขณะที่ทั้งผู้ดูแลและผู้รับความช่วยเหลือต่างต้องแบกรับภาระด้านจิตใจ ร่างกาย และการเงินอย่างมหาศาล การพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับภาคสวัสดิการเป็นพื้นที่ที่ยากต่อการลงทุนเนื่องจากตลาดไม่ใหญ่พอ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและการส่งเสริมการเข้าถึงที่ปราศจากอุปสรรค ทำให้ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวสามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามลำพังได้หากมีวีลแชร์ แต่พวกเขายังคงเผชิญกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมนอกสภาพแวดล้อมออกแบบมาเพื่อพวกเขา ผู้จัดงานเชื่อว่าหุ่นยนต์ช่วยเดินที่สามารถใช้ได้ทั้งในอาคารและกลางแจ้งโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าถึงที่ไม่มีอุปสรรค จะช่วยให้ผู้ทุพพลภาพใช้ชีวิตได้มากขึ้น
การแข่งขันจีไอซีจัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้พิการที่ใช้ชีวิตบนวีลแชร์ เช่น อัมพาตช่วงล่าง สามารถ "เดินได้อย่างอิสระ" โดยไม่ต้องรับความช่วยเหลือจากมนุษย์ สามารถใช้ประโยชน์จากอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ผ่านการพัฒนาเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมใหม่
ทัตสึฟูมิ คามิมูระ (Tatsufumi Kamimura) ประธานคณะกรรมการบริหารจีไอซี กล่าวว่า:
"นี่จะเป็นการจัดแข่งขันครั้งที่สอง โดยในปี 2564 การแข่งขันต้องจัดขึ้นทางออนไลน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การแข่งขันครั้งต่อไปในฤดูใบไม้ผลิ 2566 จะจัดขึ้นที่ศูนย์นวัตกรรมจีไอซี สึคุบะ ในสนามแข่งขันที่จะมีลักษณะเหมือนบ้านทั่วไป คณะกรรมการต่างรอคอยที่จะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะถูกสร้างขึ้นในครั้งนี้เช่นกัน เราหวังว่าจะมีผู้สมัครมากมายจากหลาย ๆ ประเทศ"
แผนการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกประจำปี 2566 การประกวดหุ่นยนต์ช่วยเหลือในการใช้ชีวิต
- เวทีแข่งขัน: ศูนย์นวัตกรรมจีไอซี สึคุบะ
(ที่ตั้ง: 877 Naka-Sugama, Tsukuba City, Ibaraki Prefecture, 300-4242 Japan)
- ผู้จัดการแข่งขัน: คณะกรรมการบริหารการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลก
งานจัดขึ้นโดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในด้านสวัสดิการทางการแพทย์ กีฬาสำหรับผู้พิการ หุ่นยนต์ และอื่น ๆ
- ผู้สนับสนุนพิเศษ: ทีเคเอฟ อิงค์ (TKF Inc.)
- ผู้สนับสนุน: เจทีบี คอร์ป (JTB Corp.)
- ผู้ประสานงาน: เมืองสึคุบะ
- บริษัทผู้ให้การสนับสนุน: ไอโออิ นิสเซ โดวา อินชัวรันซ์ จำกัด (Aioi Nissay Dowa Insurance Co., Ltd.), ธนาคารเอ็มยูเอฟจี (MUFG Bank, Ltd.), เอสเอ็มบีซี นิกโกะ ซีเคียวริตีส์ อิงค์ (SMBC Nikko Securities Inc.)
- เงินรางวัลทั้งหมด: 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ค่าสมัครแข่ง: ไม่มีค่าใช้จ่าย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่:
https://kyodonewsprwire.jp/attach/202211019056-O1-TEp97bO5.pdf
ที่มา: คณะกรรมการบริหารการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลก
แสดงความคิดเห็น