

กรุงเทพฯ, 14 เมษายน 2568 /PRNewswire/ -- หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7ริกเตอร์ เขย่าภูมิภาคมัณฑะเลย์ของเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 บริษัทแฟมซัน (FAMSUN) ผู้นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร ได้รีบดำเนินการช่วยเหลือข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็ว โดยมีการประสานงานผ่านศูนย์กลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ทำให้การผลิตในโรงงานอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ของพันธมิตร เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์, New Hope, Sunjin, KSP Myanmar และ Diamond ต้องหยุดชะงัก
ภายใน 24 ชั่วโมง แฟมซันได้จัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเฉพาะกิจ 8 คน จากสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคในกรุงเทพฯ ทีมงานได้ฝ่าอุปสรรคด้านการเดินทางต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานในภูมิภาค จนกระทั่งเดินทางถึงศูนย์กลางแผ่นดินไหวในมัณฑะเลย์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน และเริ่มปฏิบัติการกู้ภัยทันที
ฟื้นฟูการผลิตและรักษาความมั่นคงทางอาหาร
เพียง 48 ชั่วโมง แฟมซันสามารถทำให้การดำเนินงานของโรงงานอาหารสัตว์หลัก 4 แห่งในเขตมัณฑะเลย์กลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว โดยโรงงานแห่งหนึ่งสามารถลดระยะเวลาการซ่อมแซมลงได้ถึง 60% ด้วยการนำนวัตกรรมชิ้นส่วนโมดูลาร์สำเร็จรูปมาใช้กับระบบลำเลียงที่เสียหาย
ความพยายามเหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูอุปทานอาหารสัตว์สำหรับภาคปศุสัตว์ของเมียนมา ทั้งยังช่วยสนับสนุนการผลิตอาหารของประเทศ
FAMSUN engineers work with local teams to restore production and provide essential aid to affected families.
ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในชุมชนผู้ประสบภัย
นอกเหนือจากการกู้วิกฤตด้านเทคนิคแล้ว ทีมแฟมซันยังได้ยื่นมือช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชุมชนที่ประสบภัยแผ่นดินไหวอีกด้วย โดยได้มอบสิ่งของจำเป็นมูลค่ากว่า 40 ล้านจ๊าดเมียนมา อาทิ ยา อาหาร น้ำดื่ม และเงินช่วยเหลือ
แฟมซันทำงานกับพันธมิตรและลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งมอบสิ่งของเหล่านี้โดยตรงถึงมือผู้ประสบภัย ผ่านทางโรงงานอาหารสัตว์ในพื้นที่ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ เช่น หอการค้าวิสาหกิจจีนในเมียนมา (CECCM), หอการค้าเสฉวนและฉงชิ่งแห่งเมียนมา (MSCC) และสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมา (มัณฑะเลย์)
ดร. Nay Thuyein ประธานสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมา (มัณฑะเลย์) กล่าวว่า "ความช่วยเหลือจากแฟมซันในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ จุดประกายความหวังให้ผู้คนและอุตสาหกรรมสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง"
ความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เห็นผลเป็นรูปธรรม
แฟมซันอาศัยศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งของประเทศไทย ทำให้ความพยายามในการช่วยเหลือข้ามพรมแดนนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของความเชี่ยวชาญจากภาคเอกชนในการยกระดับขีดความสามารถในการรับมือกับวิกฤตการณ์
Mr.Jason Fan รองประธานแฟมซัน กล่าวว่า "เราจะยังคงสานต่อความร่วมมือกับท้องถิ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และนำความเชี่ยวชาญของเรามาสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรของภูมิภาคให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ" ปัจจุบัน แฟมซันกำลังขยายความช่วยเหลือไปยังพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ เช่น ตองจี เพื่อยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความเข้มแข็งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แสดงความคิดเห็น